Our Special Menus Our Special Menus

          ชาวญี่ปุ่นจะรับประทานอาหารกันวันละ 3 มื้อ คือ เช้า กลางวัน เย็น   และให้ความสำคัญกับอาหารมื้อ

เย็นมากที่สุด ในสมัยก่อนสงครามครอบครัวชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารญี่ปุ่นเป็นหลักโดยมีข้าว

เป็นอาหารหลักและมีปลา  ผัก ฯลฯ  เป็นกับข้าว  ควบคู่ไปกับ  ซุปเต้าเจี้ยว  กับผักดองต่างๆ  แต่ตั้งแต่หลัง

สงครามเป็นต้นมา เนื่องจากอิทธิพลของโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน  ทำให้มีการรับประทานขนมปัง

เนื้อชนิดต่างๆ ไข่ และผลิตภัณฑ์นมกันมากขึ้น

              การรับประทานอาหาร  มีความหลากหลายมากขึ้นอ ตามสภาพความเจริญทางเศรษฐกิจครอบครัว

ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่เฉพาะแต่อาหารญี่ปุ่นเท่านั้น   ยังรับประทานอาหารของชาติต่างๆ   กันเป็นเรื่อง

ธรรมดาไม่ว่าจะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งไม่ต้องใช้เวลานานในการปรุงก็มีอยู่มากมายด้วย ถ้าเข้าไปในเมือง

จะพบว่าสามารถหาอาหารของชาติต่างๆ    รับประทานได้ตามใจชอบ   ตั้งแต่อาหารญี่ปุ่น  ไม่ว่าจะเป็น    สุชิ

เท็มปุระ โซบะ อุด้ง ฯลฯ   หรืออาหารจีน ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน รัสเซีย อินเดีย ไทย เวียดนาม ฯลฯ   หรือ

อาหารจานด่วน ประเภทไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ ฯลฯ ก็มี                                                                            

                      

 วิถีการรับประทานอาหารที่มีมาแต่ดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น

          คือ    การรับประทานอาหารหลักควบคู่กับกับข้าว   อาหารหลัก  คือ ข้าว   ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นข้าว

ธรรมดาหุงกับน้ำ กล่าวกันว่า  ประวัติศาสตร์การบริโภคข้าวของชาวญี่ปุ่นยาวนานมาก  ตั้งแต่สมัยยะโยอิเป็น

ต้นมา แต่การรับประทานข้าวแบบ ปัจจุบันนั้นเริ่มขึ้นในสมัยเฮอัน

          สำหรับกับข้าวนั้น  จะเห็นได้ว่ามีมากมายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ผลิตภัณฑ์นม อาหารทะเลต่างๆ

แต่ในสมัยก่อน   การที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะล้อมรอบด้วยทะเล   4 ด้าน   ทำให้รับประทานอาหารทะเลกัน

เป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่จำเป็นต่อร่างกาย วิธีการทำอาหารทะเลนั้นมีหลายวิธี ทั้งปิ้ง ย่าง

ต้ม นึ่ง เป็นต้น    ในบรรดาเหล่านั้นอาหารประเภท “ สะชิมิ ”    ที่ใช้มีดหั่นอาหารทะเลเป็นชิ้นๆ   แล้วนำมา

รับประทานกันสดๆ   ถือเป็นอาหารพิเศษเฉพาะของญี่ปุ่น อาหารประเภทเนื้อก็รับประทานกันมานานเช่นกัน

แต่เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธที่ห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ ทำให้ต้องพึ่งอาหารทะเลกันเช่นเดิม

          นอกเหนือจากอาหารทะเลแล้ว     ที่บริโภคกันมากรองลงมาก็คือผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง    ตัวอย่างเช่น

อะบุระเงะ  (abura-age:เต้าหู้ทอด)   ถั่วหมัก (natto)   เป็นต้น    อาหารประเภทถั่วเหลืองเหล่านี้เป็นแหล่ง

โปรตีนจากพืชที่มีคุณค่าสูงมาก     ซึ่งขาดไม่ได้เลยในอาหารญี่ปุ่น      นอกจากนี้ก็ยังนิยมนำผักมาปรุงมาก

เช่นกัน   จะเห็นได้ว่าอาหารประเภทผักก็มามกมาย เช่น อาหารต้ม   อาหารคลุกเต้าเจี้ยวหรืองา  (aemono)

อาหารคลุกน้ำส้ม โอะฮิทะชิ (ohitashi) เป็นต้น

                         

โชยุ ราชาแห่งเครื่องปรุงรส

          เมื่อพูดถึงอาหารญี่ปุ่น สิ่งทลืมไม่ได้มากยิ่งกว่าข้าวและกับข้าว ก็คือ "โชยุ"   เต้าเจี้ยวซึ่งเป็นเครื่อง

ปรุงรส โดยเฉพาะอย่างยิ่งโชยุนั้น ถึงกับเรียกกันว่าเป็น “ ราชา แห่งเครื่องปรุงรส ” เลยทีเดียว  เนื่องจาก

ใช้ปรุงอาหารได้แทบทุกประเภท ทั้งใช้ใส่ในอาหาร และเป็นน้ำจิ้ม   นอกจากนั้น โชยุยังมีบทบามอย่างมาก

ในการพัฒนาอาหารญี่ปุ่นมาจนกระทั่งบัดนี้ ถ้าจะว่าไปแล้วที่เมืองจีนก็มีซีอิ๊วแบบจีน หรือแถบประเทศตะวัน

ออกเฉียงใต้     ก็มีน้ำปลาเช่นเดียวกัน    แต่กลิ่นและรสชาติจะแตกต่างกับโชยุของญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง    ส่วน

เต้าเจี้ยวนั้นความสำคัญอาจน้อยกว่าโชยุ   แต่ก็มีบทบาทอย่างมากในการปรุง   ซุปเต้าเจี้ยว  อาหารย่าง หรือ

อาหารประเภทคลุก            

Today's Hot

เมนู...ฤดูร้อน

เดือนมกราคม - เมษายน

 

... more

เมนู...ฤดูฝน

เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม

 

... more

เมนู...ฤดูหนาว

เดือนกันยายน - ธันวาคม

 

... more